อาชีพสาย software development ที่กำลังขาดแคลน

อาชีพสาย software development ที่กำลังขาดแคลนและเป็นที่ต้องการสุดๆ จากการสังเกตและสอบถามมา:

  • IT project manager การบริหารโครงการไอทีไม่ใช่ง่าย competency ด้านนี้ฝึกยาก แถม soft skill ยังสำคัญมากๆ ส่วนมากที่พบเจอมักจับพลัดจับผลูมาเป็นบ้าง เขาสั่งให้เป็นบ้าง เป็นด้วยระบบ seniority บ้าง หาคนเก่งด้านนี้จริงๆ ยาก องค์กรขนาดใหญ่จำนวนมากขาดคนด้านนี้มาก โครงการจำนวนมากขึ้นไม่ได้เพราะขาดคนบริหารนี่ล่ะ PM ที่เจอๆ ทุกวันนี้มักทำกันแค่…ประสานงาน, หมกมุ่นอยู่กับ gantt chart, excel วันๆ ก็คอยตามงาน แก้ตัวกับ user/ลูกค้า, วางแผนและ estimate คนเงินเวลาแบบนั่งเทียน แล้วก็วางฟอร์มข่มลูกทีม ทั้งที่ทักษะหลายด้านสู้ลูกทีมยังไม่ได้ ดังนั้นใครอยากมาสายนี้ต้องรักจริง รับรองรุ่งงงงง เงินเดือนก็ดีสุดๆๆๆๆๆ และอีกนิด อาชีพนี้ไม่จำเป็นว่าต้องแก่ก่อนแล้วค่อยเป็น เด็กๆ ก็เป็นได้
  • software architect เป็นอีกตำแหน่งฮอตฮิตที่ขาดแคลน architect ส่วนมากที่เจอตามองค์กรต่างๆ มักเป็นสไตล์ technology architect เสียมาก วันๆ ขลุกและสนุกอยู่แต่กับเทคโนโลยี แต่ architect จริงๆ ต้องมี competency หลายด้านมาก แค่สมองซีกขวาไม่ผ่านก็จบเห่ ใคร balance ทั้งศาสตร์และศิลป์ได้ลงตัวก็มีอนาคตไกล นักเทคนิคจ๋านวนมากมักไปไม่รอดกับตำแหน่งนี้ เพราะ soft skill ต้องแข็งโป๊ก มุมมองต้องดี มองภาพรวมเก่งๆ capture concern สำคัญของ stakeholder ออกมาได้ แล้วหาโซลูชั่นโดนๆ ที่คุ้มค่ามาจับ ความรู้เทคนิคดีตามโลกทัน ออกแบบโซลูชั่นเก่งๆ เพราะ architect ก็คือนักกลยุทธ์ดีๆ นี่เอง อ่านเพิ่มเติม

นักไอที 3 ประเภทที่น่าสนใจ

ปัจจุบันผมทำงานอิสระ จริงๆ ก็ทำงานอิสระมาตลอด เคยทำงานประจำแค่ 2 ปีกว่าเอง ผมเป็นอาจารย์อิสระ ที่ปรึกษาอิสระ และสถาปนิกไอทีอิสระ 🙂 ทำเกี่ยวกับ enterprise architecture, software architecture, non-functional requirement, test case design, test architecture
ผมทำงานด้านไอทีมา 17 ปีละ เริ่มตั้งแต่เรียนอยู่ปี 3 พบเจอองค์กรมาจำนวนไม่น้อย ทั้งภาครัฐ เอกชน แค่ภาคธนาคารก็ไม่ต่ำกว่า 15 ธนาคาร เทเลคอมนี่เจอมาทุกเจ้า บริษัทไอทีที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แทบทุกรายจนถึงบริษัทเล็กๆ ที่มีพนักงานไม่ถึง 10 คน ได้พบคนอยู่ 3 ประเภทที่น่าสนใจ ได้แก่
  1. คนที่ ‘ทน’ ทำงานไอที ใครให้ทำอะไรก็ทำ ให้ศึกษาอะไรก็ศึกษาไปงั้นๆ ทำงานแบบไม่มี ‘แพชชั่น’ ไร้แรงบันดาลใจ ทั้งยังไม่ชอบเรียนรู้ไม่ชอบอ่านหนังสือ แถม soft skill ก็ย่ำแย่ เพราะคนไอทีคุยกับใครก็ไม่รู้เรื่องวันๆ ใช้แต่สมองซีกซ้าย EQ เลยไม่ค่อยได้เรื่อง คนแบบนี้จะโตไปสายบริหารก็ลำบาก จะไปสาย specialist ก็คงไม่รอด ยิ่งพัฒนาตัวเองต่อไปไม่ได้ นอกจากตำแหน่งไม่ขึ้น เงินเดือนก็ไม่ขึ้นด้วย และอาจถึงขั้นลดลงด้วยซ้ำ สุดท้ายคนประเภทนี้ไม่ถูกบีบจนต้องออกไปจากวงการ ก็ต้องสละชีพตัวเองแทน หรือถ้ายังอยู่รอดต่อไปได้เพราะด้วยหนี้สินและภาระและไร้ที่ไป ก็ต้องทนทำงานไอทีอย่างสนุกสุดเศร้าต่อไป ปล่อยให้เด็กๆ ขึ้นมาเหยียบหัวป่ายปีนไปวันๆ
  2. ผู้บริหารระดับสูงและผู้บริหารไอที ที่ขาดทักษะด้านไอทีและมีวิสัยทัศน์ด้านไอทีที่ย่ำแย่ แทบทุกองค์กรมีผู้บริหารแบบนี้ทั้งนั้น และเป็นจุดอ่อนด้านไอทีขององค์กรทีเดียว คนจำนวนมากมาสนใจไอทีเพราะสนุกกับเทคโนโลยีและอุปกรณ์ทันสมัยต่างๆ นานา แต่หาได้น้อยที่คิดจะศึกษาจริงจังและบริหารได้ดี หลายองค์กรจึงลงเอยด้วยการใช้ไอทีอย่างสุรุ่ยสุร่าย หรือไม่ก็งกสุดตัว แต่หาได้น้อยที่จะใช้ไอทีได้อย่างคุ้มค่าและ ‘พอเพียง’ อย่าให้บอกเลยนะว่ามีที่ไหนบ้าง ภาพเบื้องหน้าที่เห็นจากผลิตภัณฑ์และบริการของเขา กับเบื้องหลังนี่มันอาจคนละเรื่องกันเลยก็ได้ หนำซ้ำพวกผู้บริหารสไตล์ ดร. และนักวิชาการยิ่งเยอะ วันๆ นั่งทำงานบนหอคอยงาช้าง ฝ่าเท้าไม่เคยสัมผัสแม้ยอดหญ้าและไอดิน เจอปัญหาด้านไอทีทีไรก็แก้ด้วยนโยบาย ‘เงินเขาไม่ใช่เงินเรา’ และหลักวิชาการแบบ ‘เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง’ สำหรับผมทุกปัญหาแก้ได้ด้วยดีไซน์ ดีไซน์ในที่นี้ไม่ใช่แค่การออกแบบ
    อ่านเพิ่มเติม